Oral Probiotic : https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhealthscialternmed/article/view/263743/179255
KAP COVID-19 : https://www.ijmsph.org/fulltext/67-1618460440.pdf?1743476614
KAP Drug Resistance : https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/252047/172227
Antibiotic Use Behavior Comparative Analysis : https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/253200/172233
Post COVID-19 Syndrome : https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/265778/180179
KAP COVID-19 -SWU : https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/250811/172222
Health Behavior High School Students : https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/250949/172225
สำหรับน้องๆ ม.4-5-6 ที่ต้องการมีผลงานวิจัย เพื่อยื่นพอร์ตแพทย์ สิ่งที่น้องๆ และผู้ปกครอง ควรทราบก่อน ตัดสินใจเรียนวิจัย มีดังนี้
1. การทำวิจัยใช้เวลาหลายเดือน ในการศึกษา หาข้อมูล วิเคราะห์ เขียนงาน จนงานสำเร็จ
1.1 ทำงานเดี่ยว workload น้องจะรับไปเต็มๆ - ต้องวางแผนเรื่องเวลาดีๆ
1.2 ทำงานกลุ่ม workload แบ่งกันในกลุ่ม - งานสำเร็จ เร็วกว่าทำคนเดียว งานเดี่ยว
2. งานวิจัยมีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการศึกษา ซึ่งจะ นำไปสู่การออกแบบการวิจัย การเก็บข้อมูล ต่างๆ
2.1 ศึกษาจากเอกสารและงานวิชาการ เป็นแหล่งข้อมูลแบบทุติยภูมิ
2.2 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างมาศึกษา เช่น การทำแบบสอบถาม
2.3 เก็บข้อมูลจากตัวอย่างมา ศึกษา ทดลอง ทำแลป
3. ฝึกกระบวนการคิด วิเคราะห์
3.1 ต้องอ่านงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง หาข้อมูลให้มากพอ จะทำให้เราเขียนงานวิจัยได้ดี
3.2 ต้องเข้าใจอย่างแท้จริง ไม่มี Copy and Paste
3.3 ต้องเข้าใจเพียงพอที่จะถ่ายทอดให้คนอื่นเข้าใจได้
4. การเผยแพร่งานวิจัย ในวารสารวิชาการ สารผลงานวิชาการให้โดดเด่น
4.1 เขียนงานวิจัยเป็นภาษาอังกฤษ ยื่นตีพิมพ์ได้ ทั้งวารสารในประเทศไทย และ วารสารต่างประเทศ
4.2 เขียนงานวิจัยเป็นภาษาไทย ยื่นตีพิมพ์ได้ เฉพาะวารสารในประเทศไทย
4.3 วารสารที่รับงานวิจัยไปตีพิมพ์ ปัจจุบันจะรับงานไปพิจารณา หากผ่าน งานจะขึ้นเว็บของวารสาร (เรียกตีพิมพ์ แต่ถ้าเป็นสมัยก่อนยังไม่มีอินเตอร์เน็ต ต้องส่งเข้าโรงพิมพ์ พิมพ์ออกมาเป็นเล่มวารสารวิชาการ วารสารวิจัย) ปกติจะมีเป็นรอบๆ หากงานได้รับการยอมรับแล้ว จะมีหนังสือ Acceptance Letter แจ้งมา แต่ถ้ายังไม่ถึงรอบ จะยังไม่ขึ้นเว็บ ก็ใช้ Acceptance Letter ใส่พอร์ตได้
4.4 วารสารวิจัย มีหลายเกรด มีทั้งวารสารที่เป็นที่ยอมรับ และวารสารแบบ no name
4.4.1 วารสารที่ได้รับการยอมรับในประเทศไทย จะเป็นวารสารที่จัดอยู่ในกลุ่ม TCI คือ Thailand Citation Index
4.4.2 วารสารนานาชาติที่ได้รับการยอมรับ กพอ. จะเป็นหน่วยงานที่คัดเลือก จะมีรายชื่อของวารสารนานาชาติเหล่านั้น (อันนี้คล้ายกับเวลาไปเรียนมหาลัยต่างประเทศแล้ว กพ. รับรองวุฒิได้ไหม ถ้า เป็น ม. ที่ กพ. ไม่รับรอง เวลาเอาวุฒิไปสมัครเรียนต่อ ก็สมัครไม่ได้)
4.5 เวลายื่นตีพิมพ์ มีค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายทางวรสาร เรียนค่าตีพิมพ์ (Pubication Fee)
4.5.1 ค่าตีพิมพ์ หรือค่าธรรมเนียมการพิจารณา โดยวรสารในประเทศ ประมาณ 3000 +/- บาท
4.5.2 ค่าตีพิมพ์กับวรสารต่างประเทศ วรสารต่างประเทศมีหลายระดับ ค่าตีพิมพิ์ ตั้งแต่ USD100 จนไปถึงหลายพัน USD เลือกดีดี ไม่ใช่่ว่า วรสารต่างประเทศจะดีกว่าในประเทศเสมอไป
5. การวิจัยไม่ใช่การทำรายงาน
5.1 หากเราไม่มีความรู้เรื่องกระบวนวิจัย การทำวิจัยต้องมี Advisor แนะนำ นักศึกษาระดับ ป.ตรี-โท-เอก นักวิชาการ มี Advisor ในการทำวิจัย
5.2 ต้องมีผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เราศึกษาวิจัย เรียกว่าผู้ทรงคุณวุฒิ ให้คำปรึกษา ตรวจสอบเครื่องมือวิจัย
6. หัวข้อวิจัย (หลายคนคิดไม่ออกว่าอยากทำเรื่องอะไร)
6.1 หัวข้อเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ทั่วไปได้ มีหัวข้อให้ศึกษาเยอะมากๆ
6.2 ไม่จำเป็นต้องเจาะลึกหัวข้อทางการแพทย์ (เพราะ ระดับมัธยมความรู้ยังไม่ถึงขั้นนั้น) จะทำแนวนี้ก็ได้นะ แต่ต้องอ่านเยอะ มากๆๆๆๆๆ
6.3 ตัวอย่างหัวข้อ เช่น : สารเคมี และยา ในชีวิตประจำวัน, พฤติกรรมสุขภาพ และสุขอนามัย, ทัศนคติการบริโภคสินค้า และบริการ,จิตวิทยาและพฤติกรรมมนุษย์, การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ, เชื้อดื้อยา สารต้านจุลชีพ, การประยุกต์เทคโนโลยีในสายงาน เป็นต้น ปรับ scope ให้แคบลงเกี่ยวกับด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพได้หมด
7. ต้องทำกี่งานวิจัย
7.1 จากหลักเกณฑ์ที่คณะแพทย์กำหนดไว้ปี 2565 ทำงานเดียวก็ยื่นได้ ทำงานเดียวที่ได้ตีพิมพ์ที่ดีๆ ไม่ว่าจะเป็นงานเดี่ยวหรือกลุ่มใช้ได้ เอาเวลาไปเตรียมเรื่องอื่นให้เจ๋งๆด้วยนะ
7.2 หากอยากได้งานวิจัยมากกว่า 1 งาน แต่เวลามีจำกัดทำไงดี คลิ๊กเข้าไปดู Research Projectx อันนี้ลงวิจัยรอบเดียวได้ 3 งานตีพิมพ์ ระยะเวลาโครงการประมาณ 4 เดือน ออกแบบโครงการนี้เอาใจน้องๆที่ต้องการมีหลายผลงานวิจัยในระยะเวลาที่จำกัด
8. เริ่มเรียนเมื่อไหร่ดี
8.1 สำหรับ ม.4 เริ่มประมาณ ชวง ส.ค-ธ.ค (ตอน ม.4 เทอมสอง) กำลังดี มีเวลาทำงาน และมีเวลารอตีพิมพ์
8.2 สำหรับ ม.5 เริ่มได้เลยตั้งแต่เทอม1 จะได้มีเวลาทำงาน
8.3 สำหรับ ม.6 เริ่มช้าสุดประมาณก่อนเปิดเทอม ม.6 เทอม 1 ถ้าช้ากว่านั้นต้องเรียนแบบ Private ถึงจะทัน ยื่นปลายปี
9. ถ้าระหว่างเรียนวิจัย Research Project กับทางสถาบัน แล้วติดขัด มีปัญหา แจ้งอาจารย์ผู้สอนได้ เพื่อหาแนทางในการทำงานให้สำเร็จ มีทางออกให้น้องๆ ได้มีผลงาน ทุกคน ห้ามเงียบ ห้ามหาย
ปรึกษา และวางแผนการพัฒนาผลงานวิจัย โทร. 095-5055665 แอดไลน์ @treelearning
คำแนะนำสำหรับน้องๆ และผู้ปกครองที่สนใจทำวิจัยยื่นพอร์ต แพทย์ ทันตะ สัตวแพทย์ เภสัช และคณะวิทยาศาสตร์
ระยะเวลา
ปกติการทำงานวิจัยใช้เวลาหลายเดือน (ในบางกรณีเป็นปี ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของเรื่องที่ศึกษา และทักษะของผู้วิจัย) ทางสถาบันฯ ออกแบบโครงงการพานักเรียนทำวิจัย ใช้เวลาเรียนและพัฒนางานวิจัย รวม 3-4 เดือน และระยะเวลายื่นตีพิมพ์อีก 3-4 เดือน (ได้ใบตอบรับตีพิมพ์ ใส่พอร์ตได้) และ รอขึ้นเว็บอีก แล้วแต่รอบของวรสารวิชาการ (ถ้าขึ้นเว็บแล้ว สามารถอ้างอิงผลงานวิจัยของเราไปที่เว็บของวรสารได้) รวมๆ แล้วถ้าต้องงานได้งานวิจัยที่ตีพิมพ์กับวรสารที่ได้รับการยอมรับ ควรต้องสำรองเวลา 8 เดือน ++
ดังนั้น นักเรียนที่อยู่ ม.5 ควรเริ่มภายใน ปี 2024 นี้ เพื่อความสบายใจ ถ้าเริ่มเรียนตอนปิดเทอมใหญ่ ก็ได้เช่นกันคะ เมื่อทำงานวิจัยสำเร็จ ยื่นตีพิมพ์ผ่าน ได้ใบตอบรับ ใส่พอร์ต ถ้าโชคดีทันรอบวรสารก็ได้งานที่ขึ้นเว็บวรสารใส่พอร์ต (งานที่ขึ้นเว็บวรสารเป็นอย่างไร ลองดูรายการข้างล่าง 1-15)
หัวข้อวิจัย
หัวข้อวิจัยที่เหมาะสมสำหรับระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ควรเป็นหัวข้อที่ไกล้ตัว หากเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความรู้เฉพาะด้าน เช่น เรื่องที่เกี่ยวข้อกับการแพทย์ ความรู้ระดับมัธยมปลายจะทำงานวิจัยไม่ได้ดีพอที่จะตีพิมพ์วรสารวิชาการที่มีมาตรฐานสูงได้ (มันจะยากมากๆ และใช้เวลาเยอะ) ดังนั้นหัวข้อสำหรับพอร์ตแพย์ ทันตะ เภสัช สัตวแพทย์ ควรเลือกทำหัวข้อ ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สุขภาพทั่วไป ทางสถาบันฯ นำเสนอหัวข้อที่ไม่ยากเกินไปสำหรับนักเรียนมัธยมปลาย และเป็นหัวข้อที่ยื่นพอร์ตได้ แต่ละหัวข้อจะมีแนะนำว่าเหมาะสำหรับคณะไหน นักเรียนปรึกษาอาจารย์ได้ ว่าควรจะต้องเขียนอธิบายงานวิจัยอย่างไร ให้เหมาะสมกับคณะที่จะยื่น
ถ้านักเรียนสนใจหัวข้ออื่นๆที่ทางสถาบันฯ ไม่ได้จัดสอนเป็นกลุ่ม เลือกหัวข้อที่สนใจได้เลย ก็สามารถลงเรียนเดี่ยวได้ ทำงานทุกอย่างคนเดียว ลุยคนเดียว อาจารย์ช่วยดูแล ตลอดจนงานสำเร็จ แต่ workload อยู่กับนักเรียนคนเดียวดังนี้ถ้าสู้ ก็ทำวิจัยเดี่ยวได้
การตีพิมพ์งานวิจัย
งานวิจัยที่ทำสำเร็จแล้ว หากได้รับการเผยแพร่ในวรสารวิชาการที่ได้รับการยอมรับ (ตีพิมพ์) จะสร้างความน่าเชื่อถือให้ผลงานวิจัย เนื่องจากวรสารวิชาการที่ได้รับการยอมรับจะมีกระบวนการ review งานวิจัย โดยผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ 2-3 คน หากผลงานวิจัยของนักเรียนผ่านการ review และได้การยอมรับตีพิมพ์ แสดงว่าผลงาน 1) มีคุณค่าทางวิชาการ 2) กระบวนการทำวิจัยถูกต้อง และ 3) เนื้อหาถูกต้อง วรสารที่ทางสถาบันฯ พายื่นงานวิจัย เป็นวรสารวิชาการในกลุ่ม TCI (Thailand Citation Index)
TCI เป็นกลุ่มวรสารวิชาการที่มีมาตรฐาน หากผู้ปกครองเป็นนักวิชาการ หรือ อาจารย์มหาวิทยาลัย ที่ต้องทำวิจัยเพื่อทำผลงานวิชาการ เมื่อทำวิจัยและต้องยื่นตีพิมพ์ เพื่อทำผลงานวิชากการได้ หนึ่งในวรสารที่ยื่นได้คือ วรสารในกลุ่ม TCI และวารสารนานาชาติที่อยู่ในรายชื่อที่คณะกรรมการอุดมศึกษาประกาศไว้
แล้วถ้าทำวิจัยแล้วไม่ยื่นตีพิมพ์หละ .... ใส่พอร์ตได้ไหม ... ใส่ได้นะ แต่น้ำหนักอาจไม่ดีเท่างานวิจัยที่ตีพิมพ์กับวรสารที่ได้รับการยอมรับ เพราะเวลานักเรียนทำวิจัยสำเร็จ แล้วไม่มีผู้เชียวชาญในสาขานั้นๆ review เปรียบเสมือนทำงานเสร็จแต่ยังไม่มีคนตรวจความถูกต้อง ทั้งเนื้อหา และกระบวนการทำ ถูกต้องรึเปล่าก็ไม่รู้ ไม่ต้องพูดถึงคุณค่าทางวิชาการ ยังไม่สามารถเคลมได้
Artificial intelligence (AI) has the potential to surpass the challenges in diagnosing infectious diseasesBrain health related knowledge and brain health behaviors among adolescents aged 5-2years old in Bangkok
A Literature Review on Antibiotic Use Behaviors Comparative Analysis
A Review: Epidemiology and Risk Factors of Lung Cancer patients in Thailand
Allergy Related Knowledge and Health Behavior Preventing Allergy among High School Students
Detection of Organophosphate and Carbamate in Fruit in Bangkok
Determination of antibiotic residues in pork product sold in Bangkok
Factors influencing health behavior among grade 0-2students in Bangkok
Factors influencing Health Behavior of Grade 10-12 students in Nakhon Pathom
Factors influencing seafood consumption behavior among Thai aged 8-60 years old in Bangkok
Intention to donate blood among students aged 17-22years old
Knowledge, Attitude and Drug Resistance Preventive Behaviors of People in Bangkok, Thailand
Knowledge, Attitude and Preventive Behavior toward COVID-9 among grade 10-12 students in Bangkok
Knowledge, attitude, and Cannabis use behavior among adolescents aged 5-2in Bangkok
Oral Health related Knowledge and Behavior among grade 0-students in Bangkok
Perception and Attitude toward Stem Cell Therapy among Thai Aged 5-60
Post-COVID Physical Rehabilitation through Nutrition and Exercise
Residues in Fresh Vegetables Sold in fresh market and supermarket in Bangkok
Case Study :Situation of Antibiotic Residues in Fresh Chicken and Chicken products sold in Bangkok
Changing Ozone (O) in ambient air to human health: A literature review
Evaluation of the nitrates in processed meat products sold in Bangkok and Chiang Mai, Thailand
Factors influencing health behavior among grade 10-12students in Bangkok
Factors influencing seafood consumption behavioramong Thai aged 8-60 years old in Bangkok
Perception of Fried Food and Consumption Behavior among Thai aged 8-60 years old
Perception of Non Communicable Diseases and Health Behavior among high school students:
Case Study PM2.5 related knowledge and preventive behavior among grade 10-12
Sulfite Contamination in Century Eggs and Imported Dry Products Using ALERT Sulfite Detection Kit
ปรึกษาการพัฒนาโครงงาน โครงงานแข่งขัน และ งานวิจัย สำหรับระดับมัธยมศึกษา แอดไลน์ @treelearning หรือ โทร.095-505-5665 หรือติดตามข่าวสารการพัฒนาโครงงาน งานวิจัย และการแข่งขันคลิ๊ก