SX2024 Hackathon
Calling all passionate young innovators aged 16-25 across ASEAN! The Sustainability Expo 2024 (SX2024) – now in its fifth year – is thrilled to present the SX2024 Hackathon competition under the topic “Innovation for Climate Adaptation.”
This is your chance to shine and shape a sustainable future for our region with your passion, creativity, and climate-focused innovations. Join us to tackle climate challenges and make a lasting impact! Together, we can create a resilient and thriving world. Don't miss out on the opportunity to compete for a total prize value of 3,000 USD.
Prizes
Winner: Certificate and cash prize of USD 1,400
1st Runner-up: Certificate and cash prize of USD 800
2nd Runner-up: Certificate and cash prize of USD 300
Finalists: Certificate
Apply now until August 28, 2024 at 11:59 P.M (GMT+7)
Event language: English
Eligibility
• A team of a minimum 3 people and a maximum of 4
• All members students aged between 16 - 25 years old
• All team members are from ASEAN Countries
• Have at least 2 english-speaking members in the team
• Team has members who are interested in 3 areas: Business/Design/Technology
Important Dates
Application & Idea Submission: August 28, 2024 at 11:59 P.M (GMT+7)
Qualifying Round*
• September 5, 2024: Announcement of 15 teams qualified for the Case Pitching Round
Case Pitching Round*
• September 10, 2024: Orientation: Competition Schedule and Performance Expectations (Online)
• September 17, 2024: Presentation at C asean @QSNCC Center, LM floor (Hybrid - qualified teams residing in Bangkok must present onsite)
• September 20, 2024: Announcement of the 7 teams qualified for the Final Pitching Round
Final Pitching Round* (Onsite)
In SX 2024 at Queen Sirikit National Convention Center
• October 4-5, 2024: Hackathon activity at the 2nd floor meeting room
• October 6, 2024: Final Pitching at Talk Stage, Hall 4, G floor
The organizer will cover either accommodation or travel expenses to attend the final pitching round, your group must choose one:
(1) Accommodation: Your group will receive 2 rooms per group for 2 nights.
(2) Travel expenses: Your group will receive USD 120 per group for 3 days of travel expenses.
* The date, time, and location are subject to change as appropriate.
Any inquiries please contact: sxhackathon@gmail.com
For more information click: https://forms.gle/UM5dYiwakPmEhYXz8
ปรึกษาการพัฒนาโครงงานแข่งขัน
แอดไลน์ @treelearning
โทร 0955055665
ขอเชิญน้อง ๆ นักเรียนและนักศึกษาที่สนใจด้าน AI และ Creativity มาเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนนวัตกรรมในวงการอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กับการแข่งขัน AI INNOVATOR AWARD 2024
ปีนี้ เรามาภายใต้หัวข้อ "AI and creativity converge in a Realm of endless possibilities"
พร้อมชิงทุนการศึกษามูลค่ากว่า 200,000 บาทและของรางวัลต่าง ๆ อีกมากมาย แล้วเรามาขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไปด้วยกันนะ
AI INNOVATOR AWARD 2024 Pitch Competitions is Open Now!
In the upcoming AI Innovator Award 2024 pitch competition, we invite you to articulate your vision, emphasizing the essential role of AI and its potential to blend with creativity under the theme of "AI and creativity converge in a Realm of endless possibilities"
If you're passionate about the realms of creativity and eager to revolutionize the landscape, consider stepping up to this challenge!
There will be a total of three rounds in the competition:
Round 1: The Video Pitch
Round 2: Elevator Pitch & Network
Round 3: Demo the Prototype
Those who made it through the three rounds of competition will be awarded scholarships up to 200,000 Baht and the AI Innovator Trophy at the AI Engineering & Innovation Summit 2024
Apply now: https://airtable.com/appJ4wjdd0e8i.../pagSpI3JgDf3jPIT6/form
Video Pitch Submission deadline: 𝐒𝐞𝐩𝐭𝐞𝐦𝐛𝐞𝐫 𝟕, 𝟐𝟎𝟐𝟒
For more information: www.cmkl.ac.th/outreach/ai-innovator-award-2024
ปรึกษาการพัฒนาโครงงานแข่งขัน
แอดไลน์ @treelearning
โทร 0955055665
ประกวดนวัตกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลครั้งที่ 3 "PTTEP Teenergy ปีที่ 9 : The 3rd Young Ocean for Life Innovation Challenge"
บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ขอเชิญนิสิต นักศึกษา ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดนวัตกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลครั้งที่ 3 "PTTEP Teenergy ปีที่ 9 : The 3rd Young Ocean for Life Innovation Challenge" ชิงเงินรางวัลรวมมูลค่า 900,000 บาท พร้อมโล่รางวัล และใบประกาศนียบัตร
วัตถุประสงค์
เพื่อสร้างและพัฒนาเยาวชนให้เป็นนักประดิษฐ์ที่มีคุณภาพและศักยภาพ
เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนได้ตระหนักถึงความสำคัญและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล
เพื่อให้นิสิต นักศึกษา มีเวทีนำเสนอผลงานนวัตกรรมที่มีศักยภาพให้สามารถเผยแพร่สู่สาธารณชน
เพื่อส่งเสริมให้นิสิต นักศึกษา ได้มีเครือข่ายด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและการพัฒนานวัตกรรม
หัวข้อการประกวดนวัตกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลครั้งที่ 3 (The 3rd Young Ocean for Life Innovation Challenge) แบ่งเป็น 3 หัวข้อการประกวด ได้แก่
Protect: การปกป้องท้องทะเล จากภัยคุกคามต่าง ๆ โดยเฉพาะวิกฤติระดับโลกสามด้านนั่นคือ มลภาวะจากขยะและน้ำเสีย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
Preserve: การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยเฉพาะระบบนิเวศชายฝั่งที่มีความสำคัญต่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน ให้สามารถคงอยู่ได้อย่างยั่งยืน
Provide: การสร้างโอกาสเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน เพื่อให้ชุมชนในพื้นที่ชายฝั่งทะเลรอบอ่าวไทยมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นตามรูปแบบเศรษฐกิจสีน้ำเงิน (Blue Economy) และ BCG Economy หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) ซึ่งเป็น โมเดลเศรษฐกิจเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน
คุณสมบัติของผู้ส่งผลงานเข้าประกวด
เป็นบุคคลสัญชาติไทย และมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย มีสถานภาพเป็นนิสิต นักศึกษา ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับ ปวส. ถึง ระดับปริญญาตรี ในสถาบันการศึกษาในประเทศไทย อายุไม่เกิน 25 ปี ผู้ที่เคยสมัครการประกวดนวัตกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล PTTEP Teenergy สามารถส่งผลงานได้
ขั้นตอนการส่งผลงานเข้าประกวด
สามารถดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ Facebook Fanpage : PTTEP CSR
สมัครเป็นทีม ทีมละไม่ต่ำกว่า 3 คน แต่ไม่เกิน 5 คน โดยให้มีอาจารย์ที่ปรึกษาได้ทีมละไม่เกิน 2 คน
เลือกส่งผลงานนวัตกรรม ที่มุ่งเน้นการพัฒนาและแก้ปัญหาประเภทใดประเภทหนึ่ง ดังนี้ (เลือกเพียง 1 หัวข้อ และส่งผลงานได้เพียง 1 ผลงานเท่านั้น)
กรอกแบบฟอร์มรับสมัครให้ครบถ้วน พร้อมทั้งส่งผลงานในรูปแบบ Customized Program ที่กำหนดไว้ เท่านั้น
ส่งสำเนาบัตรประชาชนและบัตรประจำตัวนิสิต นักศึกษา ที่ออกโดยสถาบันการศึกษาที่ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดกำลังศึกษาอยู่
จัดทำโครงร่างผลงาน (Proposal) โดยอัปโหลดไฟล์ในรูปแบบ .pdf ความยาวไม่เกิน 10 หน้าขนาด A4 รวมปก ขนาดไฟล์ไม่เกิน 20 MB เท่านั้น
ชนิดและขนาดตัวอักษร ให้ใช้ตัวอักษร Cordia New ขนาด 16 pt. การจัดหน้ากระดาษ ใช้กระดาษขนาด A4 (21 x 29.7 เซนติเมตร) และพิมพ์โดยมีระยะห่างจาก ขอบกระดาษด้านซ้าย 2.5 เซนติเมตร ด้านขวา 2.5 เซนติเมตร ด้านบน 2.5 เซนติเมตร และด้านล่าง 2.5 เซนติเมตร
ส่งรูปภาพประกอบผลงานนวัตกรรมโดยอัปโหลดไฟล์ในรูปแบบ .jpeg ไม่เกิน 5 รูป ขนาดไฟล์รวม ไม่เกิน 10 MB เท่านั้น
ส่ง VDO Clip การนำเสนอผลงานความยาวไม่เกิน 3 นาที โดยอัปโหลด VDO Clip ลงบน YouTube และคัดลอก Link VDO จาก YouTube ลงในแบบฟอร์มรับสมัคร
หัวข้อในโครงร่างผลงาน (Proposal)
ที่มาและแนวคิดของผลงานนวัตกรรม (แรงจูงใจ แรงบันดาลใจหรือแนวคิดในการสร้างสรรค์)
วัตถุประสงค์ (จัดทำโครงการเพื่อประโยชน์ หรือใช้แก้ไขปัญหาอะไร และสามารถวัดผลลัพธ์ได้อย่างไร)
วิธีการดำเนินงาน (อธิบายถึงขั้นตอน และวิธีการดำเนินโครงการ)
การนำไปใช้ประโยชน์ (อธิบายการนำแนวคิดนี้ไปใช้ประโยชน์ได้มากน้อยเพียงใด ใช้ได้อย่างแพร่หลายในหน่วยงานอื่นได้ด้วยหรือไม่ หรือใช้ได้เฉพาะในวงจำกัด บางหน่วยงานเท่านั้น)
แบบร่างโมเดลผลงานพร้อมลงสี โดยสามารถใช้การวาดด้วยมือ หรือใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ พร้อมอธิบายการใช้งานอย่างครบถ้วน
งบประมาณในการผลิตผลงานที่ส่งเข้าประกวด (ประมาณการงบประมาณในการผลิตผลงานต่อชิ้น)
ผลที่คาดว่าจะได้รับ (คาดว่าผลงานที่ส่งเข้าประกวดจะสร้างประโยชน์อย่างไรบ้าง นำเสนอความคุ้มค่าของงบประมาณที่ใช้ เทียบกับ ผลที่คาดว่าจะได้รับ และคำนวณผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม Life Cycle Assessment)
ให้อ้างอิงงานศึกษา หรืองานวิจัย อย่างน้อย 3 ฉบับ ที่เป็นผลงานภายในประเทศ และ/หรือ ต่างประเทศ
หลักเกณฑ์และเงื่อนไข
ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดต้องกรอกรายละเอียดในแบบฟอร์มรับสมัครและส่งผลงานประกวดให้ครบถ้วนสมบูรณ์ โดยท่านสามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับโครงการนวัตกรรมที่ส่งประกวดที่ผ่านมาได้จากเอกสารรายละเอียดผลงานนวัตกรรมฯ โดยผลงานที่ส่งเข้าประกวดไม่ควรซ้ำซ้อนกับผลงานที่เคยมีการส่งประกวดแล้ว หรือมีลักษณะโดดเด่นต่อยอดจากผลงานก่อนหน้านี้อย่างมีนัยสำคัญ
ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดต้องกรอกรายละเอียดในแบบฟอร์มรับสมัครและส่งผลงานประกวดให้ครบถ้วนสมบูรณ์ โดยท่านสามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการให้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านได้จาก “เอกสารแจ้งการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับโครงการประกวดนวัตกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล” (ดาวน์โหลดได้จากช่องดาวน์โหลดเอกสาร Privacy Notice)
ปตท.สผ. ขอสงวนสิทธิ์ในการจัดกลุ่มผลงานที่ส่งเข้าประกวดให้ตรงตามหัวข้อที่ ปตท.สผ. กำหนด
ผลงานที่ส่งเข้าประกวดไม่ว่าส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือทั้งหมดต้องไม่สื่อความหมาย และไม่มีลักษณะที่ต้องห้ามตามกฎหมาย ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่เป็นการดูหมิ่น เสียดสี หรือก่อให้เกิดความแตกแยกทางสังคม ไม่มีนัยทางการเมือง ไม่กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
กรรมสิทธิ์ และสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับผลงานที่ส่งเข้าประกวดเป็นของผู้ส่งผลงานเข้าประกวด
เฉพาะผลงานที่ส่งเข้าประกวดซึ่งได้รับการคัดเลือกให้ได้รับรางวัลทั้ง 15 ผลงาน ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดขอให้ความตกลง ดังต่อไปนี้
ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดยินยอมให้ ปตท.สผ. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต่อสาธารณชน ไม่ว่าจะในรูปแบบเอกสารฯ สื่อสิ่งพิมพ์ทุกประเภท สื่อดิจิทัล หรือสื่อรูปแบบอื่น ๆ ไม่ว่าในเวลาใด ๆ เพื่อการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ หรือเพื่อการใด ๆ โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ ปตท.สผ. มีดุลพินิจแต่เพียงผู้เดียวว่าจะแสดงชื่อผู้ส่งผลงานเข้าประกวดในการเผยแพร่หรือประชาสัมพันธ์ โดยผู้ส่งผลงานเข้าประกวดจะไม่โต้แย้งหรือเรียกร้องสิทธิใด ๆ จากการใช้ดุลพินิจดังกล่าว
ภายในระยะเวลา 1 ปี หลังเสร็จสิ้นการประกวด ปตท.สผ. อาจทำความตกลงร่วมกับผู้ส่งผลงานเข้าประกวดเพื่อพัฒนาผลงานที่ส่งเข้าประกวดร่วมกัน หรือทำความตกลงกับผู้ส่งผลงาน เข้าประกวดเพื่อนำผลงานที่ส่งเข้าประกวดดังกล่าวไปวิจัยหรือพัฒนาต่อแต่เพียงผู้เดียว
ผู้ส่งผลงานเข้าประกวด ยินยอมให้ ปตท.สผ. ใช้หรือแสดง ชื่อ - นามสกุล ของผู้ส่งผลงาน เข้าประกวด และชื่อผลงานที่ส่งเข้าประกวด เพื่อการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ หรือเพื่อการใด ๆ ตามที่ ปตท.สผ. เห็นว่าเหมาะสม
หากผลงานที่ส่งเข้าประกวดเคยได้รับรางวัลจากหน่วยงานหรือองค์กรอื่นมาแล้ว ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดจะต้องระบุในแบบฟอร์มรับสมัครให้ชัดเจน
ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดต้องไม่นำผลงานของผู้อื่นมานำเสนอเป็นผลงานของตนเอง รวมทั้งต้องไม่กระทำการใด ๆ อันเป็นการละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของบุคคลอื่น หรือกระทำการใด ๆ อันเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 หรือกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในกรณีที่มีความเสียหายเกิดขึ้นจากการที่ผู้ส่งผลงานเข้าประกวด กระทำผิดกฎหมายหรือละเมิด สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของบุคคลอื่น ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดจะต้องรับผิดแต่เพียงผู้เดียวในการกระทำผิดกฎหมายหรือความเสียหายต่อบุคคลภายนอกดังกล่าว และหากปตท.สผ. ได้รับความเสียหายไม่ว่าในทางใด ๆ อันเนื่องมาจากกระทำผิดกฎหมายหรือการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาดังกล่าว ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดตกลงรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ ปตท.สผ.เต็มจำนวน
คณะกรรมการตัดสินมีสิทธิกำหนดวิธีการตัดสิน และผลการตัดสิน หรือคำชี้ขาดของคณะกรรมการตัดสินในทุกกรณี ถือเป็นที่สิ้นสุด ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดจะอุทธรณ์ หรือโต้แย้ง มิได้ และหากพบหลักฐานว่าผู้ส่งผลงานเข้าประกวดขาดคุณสมบัติ หรือผลงานที่ส่งเข้าประกวด ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเข้าร่วมประกวดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แม้ภายหลังที่มีการประกาศผลการตัดสินแล้วก็ตาม คณะกรรมการมีสิทธิพิจารณาเพิกถอนผลการตัดสินได้ทันที และเรียกรางวัลที่ผู้ส่ง ผลงานเข้าประกวดได้รับไปแล้วทั้งหมดคืน และ ปตท.สผ. ขอสงวนสิทธิ์ในการดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ส่งผลงานเข้าประกวดต่อไป
ผู้ส่งผลงานเข้าประกวด ยินยอมให้ ปตท.สผ. ใช้หรือแสดงชื่อผลงาน ชื่อทีม และข้อมูลผลงานไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือโดยย่อ ของทุกผลงานเพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิง หรือเผยแพร่ ตามที่ ปตท.สผ. เห็นสมควร
ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดรายใดกระทำการฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ วิธีการส่งผลงานเข้าประกวด หรือเงื่อนไขการเข้าร่วมประกวด คณะกรรมการตัดสินมีสิทธิพิจารณาตัดสิทธิการส่งผลงานเข้าประกวดได้ทันที
ในกรณีที่ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดได้รับเงินรางวัลมูลค่าตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดยินยอมให้ ปตท.สผ. หักชำระภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 5 ตามกฎหมาย
เงื่อนไขอื่น ๆ นอกเหนือจากข้อกำหนดข้างต้น ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการตัดสินผลงาน
ปตท.สผ. ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขใด ๆ โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
กำหนดการการรับสมัคร และการประกวด
รับสมัครและส่งผลงาน : 1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 31 มกราคม 2567
กิจกรรมเสวนาแรงบันดาลใจในการสร้างนวัตกรรม ภายใต้โครงการ PTTEP Teenergy ปีที่ 9 : 29 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.00 - 16.00 น. ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
ประกาศผลรอบคัดเลือก 15 ทีม (3 หัวข้อๆ ละ 5 ทีม) ทาง Facebook Fanpage : PTTEP CSR : มีนาคม 2567
ทีมที่ผ่านการคัดเลือก 15 ทีม เข้าร่วมการอบรม Workshop (ทุกทีมต้องมีผู้เข้าร่วมอบรมอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกในทีม) : เมษายน 2567 (จัดกิจกรรมจำนวน 2 วัน)
ทีมที่ผ่านการคัดเลือก 15 ทีม ส่งผลงานรอบตัดสิน : พฤษภาคม 2567
ทีมที่ผ่านการคัดเลือก 15 ทีม นำเสนอผลงานในรอบตัดสินและร่วมพิธีมอบรางวัล : พฤษภาคม 2567
หมายเหตุ กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม และการจัดกิจกรรมอาจจัดขึ้นในรูปแบบ Onsite และ / หรือ Online โดยจะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อทีมที่ผ่านเข้ารอบทั้ง 15 ทีม เพื่อยืนยันนัดหมายวัน - เวลา สถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรม Workshop รวมถึงกิจกรรมตัดสินและมอบรางวัล
เกณฑ์การให้คะแนน (100 คะแนน)
Innovativeness (30/100) ความคิดสร้างสรรค์ ความแปลกใหม่ ยังไม่เคยมีคนทำมาก่อน หรือต่อยอดได้อย่างน่าสนใจ โดยไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น
ผลงานที่ส่งเข้าประกวดควรมีความแตกต่างจากผลงานการประกวดในปี 2564
ผลที่คาดว่าจะได้รับ (30/100) ความพยายาม / ความท้าทาย / ความซับซ้อนของโครงการ ในการนำความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มาสู่การปฏิบัติ
แสดงการวิเคราะห์ปัญหา / ส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลในทุกรูปแบบที่ชัดเจน
ส่งผลกระทบอันเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม (ผลงานนวัตกรรมและกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม)
Implementation Possibility (30/100) มีองค์ประกอบของทรัพยากรที่เอื้อต่อความสำเร็จ / ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ สามารถใช้งานได้จริง ระยะการพัฒนารวมถึงความพร้อมในการผลิตนวัตกรรมและนำมาใช้ได้ทันที ชุมชนสามารถนำไปประยุกต์ / ใช้งานได้โดยง่าย ปลอดภัย และสามารถขยายผลไปยังพื้นที่อื่น ๆ
โอกาสในการเป็นต้นแบบนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ มีแผนการทำงาน/แผนการจัดการที่แสดงถึงความยั่งยืนของนวัตกรรม ความคุ้มค่า : งบประมาณที่ใช้เทียบกับ ผลที่คาดว่าจะได้รับของโครงการ
Related to PTTEP (10/100) มีความเกี่ยวข้องต่อโครงการเพื่อสังคมภายใต้กลยุทธ์ Ocean for Life หรือการดำเนินธุรกิจของ ปตท.สผ. และการสร้างประโยชน์ต่อการดำเนินงานในเชิงคุณภาพและปริมาณ
รางวัลการประกวด
รางวัลชนะเลิศ ในแต่ละหัวข้อการประกวด ได้รับเงินรางวัล ทีมละ 130,000 บาท พร้อมโล่รางวัลและใบประกาศนียบัตร
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ในแต่ละหัวข้อการประกวด ได้รับเงินรางวัล ทีมละ 70,000 บาท พร้อมโล่รางวัลและใบประกาศนียบัตร
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ในแต่ละหัวข้อการประกวด ได้รับเงินรางวัล ทีมละ 40,000 บาท พร้อมโล่รางวัลและใบประกาศนียบัตร
รางวัลชมเชย จำนวน 2 รางวัลในแต่ละหัวข้อการประกวด ได้รับเงินรางวัล ทีมละ 10,000 บาท พร้อมโล่รางวัลและใบประกาศนียบัตร
รางวัลพิเศษ
ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในแต่ละหัวข้อการประกวด มีสิทธิได้รับการพิจารณาเพื่อรับเงินรางวัลพิเศษ รางวัลละ 40,000 บาท เพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดผลงานต่อไป ทั้งนี้การตัดสินขึ้นอยู่กับการพิจารณาร่วมกันของ ปตท.สผ. และคณะกรรมการโครงการ โดย ปตท.สผ. ขอสงวนสิทธิ์ในการมอบรางวัลให้แก่ทีมที่พิจารณาแล้วว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมเท่านั้น
ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับการพิจารณาให้ได้รับเงินรางวัลพิเศษ ต้องจัดทำข้อเสนอ โครงการ (Proposal) ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่ได้รับแจ้งผลการพิจารณาคัดเลือก
ผู้ที่ได้รับการพิจารณาให้ได้รับเงินรางวัลพิเศษ ต้องดำเนินการตามข้อเสนอโครงการ (Proposal) ภายใน 45 วัน นับแต่ได้รับเงินรางวัลพิเศษ
หากผู้ที่ได้รับการพิจารณาให้ได้รับเงินรางวัลพิเศษ ไม่ประสงค์ที่จะรับเงินจำนวนดังกล่าว ต้องแจ้งสละสิทธิ์พร้อมระบุเหตุผลให้ผู้ประสานงานโครงการทราบเป็นลายลักษณ์อักษร ภายใน 5 วัน นับจากวันประกาศผล
ในกรณีที่มีการสละสิทธิ์รับเงินรางวัลพิเศษข้างต้น ปตท.สผ. และคณะกรรมการโครงการ อาจพิจารณามอบเงินรางวัลพิเศษแก่ทีมที่ได้อันดับรองลงมาตามลำดับ ทั้งนี้ตามที่ ปตท.สผ. และคณะกรรมการโครงการเห็นสมควร
คำชี้ขาดหรือคำตัดสินของ ปตท.สผ. และคณะกรรมการโครงการในทุกกรณี ถือเป็นที่สิ้นสุด ผู้ส่ง ผลงานเข้าประกวดจะอุทธรณ์ หรือโต้แย้ง มิได้
ติดต่อสอบถาม www.facebook.com/pttepcsr
สนใจพัฒนาโครงงานเพื่อยืนแข่งขัน ปรึกษา หาโค้ช ติดต่อ 095-5055665 หรือ แอดไลน์ @treelearning
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ขอเชิญนักเรียนมัธยมศึกษา ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมในการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ ปี 2567 "Thailand Junior Water Prize 2024" ชิงเงินรางวัล พร้อมโล่ และเกียรติบัตร
วัตถุประสงค์
เพื่อจัดประกวดผลงานวิจัยที่เป็นนวัตกรรมด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำระดับประเทศ
เพื่อส่งเสริมการบูรณาการความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมรวมทั้งความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ผ่านการทํางานวิจัย หรือสร้างสิ่งประดิษฐ์ หรือนวัตกรรมระดับเยาวชน
กติกาการประกวด
Thailand Junior Water Prize (TJWP) 2024 เปิดรับสมัครผลงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ที่เป็นสิ่งประดิษฐ์/ต้นแบบ/แบบจำลอง ภายใต้แนวคิด "นวัตกรรมการอนุรักษ์น้ำสู่ความยั่งยืน" (Water Conservation Innovation toward Sustainability) ซึ่งปีนี้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับ "Bridging Borders: Water for a peaceful and sustainable future" โดยผลงานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องมีผลลัพธ์ขั้นพื้นฐาน คือ ต้องเป็นนวัตกรรมที่เป็นสิ่งประดิษฐ์/แบบจำลอง/ต้นแบบ (ศึกษารายละเอียดดังภาคผนวก ก) ซึ่งเป็นการแสดงผลพิสูจน์แนวคิดการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ทั้งนี้ อาจจะเป็นการประยุกต์แนวคิดที่มีอยู่แล้วหรือคิดค้นขึ้นมาใหม่ และสิ่งสำคัญจะต้องไม่ลอกเลียนแนวความคิดของผู้อื่นมาทั้งหมด โดยผลงานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องไม่เป็นผลงานที่เคยได้รับรางวัลจากการประกวดในลักษณะเดียวกันนี้ในเวทีระดับประเทศ
คุณสมบัติผู้เข้าประกวด
นักเรียนที่มีอายุระหว่าง 15–19 ปี และกำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ถึง ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ไม่เกินระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6) ของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาทั่วประเทศ
มีสัญชาติไทย สำหรับนักเรียนต่างชาติ หรือนักเรียนในโรงเรียนนานาชาติ ต้องอาศัยหรือศึกษาที่ประเทศไทย 1 ปีขึ้นไป (พิจารณาจากหลักฐานการสมัคร)
โรงเรียนต้นสังกัดต้องเป็นโรงเรียนที่นักเรียนและครูที่ปรึกษาประจำอยู่ ณ ที่แห่งนั้น
สามารถส่งผลงาน ไม่เกิน 1 ทีม/โรงเรียน (นักเรียน 2 คน และครูที่ปรึกษา 1 ท่าน)
หมายเหตุ หากไม่เป็นไปตามคุณสมบัติผู้เข้าประกวดข้างต้น สสวท.ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตัดสิทธิ์ในการเข้าร่วมการประกวด Thailand Junior Water Prize
ลักษณะงานวิจัยที่ส่งเข้าประกวด
เป็นโครงการศึกษา/วิจัย ที่แสดงออกถึงนวัตกรรมในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นการรักษาหรือแก้ปัญหาในเรื่องคุณภาพน้ำและสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง และพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับสังคมในระดับครัวเรือน ระดับชุมชน ระดับประเทศ หรือระดับโลก
เป็นโครงการศึกษา/วิจัย ที่ต้องไม่ลอกเลียนแบบหรือนำเอาผลงานจากการศึกษาหรือการดำเนินการของตนเองและผู้อื่นมาส่งเข้าประกวด หากนำความคิดหรือผลงานตนเองและผู้อื่นมาดำเนินการ (ให้ระบุเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ลงในหัวข้อ "การพัฒนาต่อยอด" ของรายงานวิจัยให้เห็นชัดเจน) โดยในโครงการศึกษา/วิจัย ต้องระบุ
สรุปรายละเอียดเนื้อหาผลงานเดิม
จุดที่มีการปรับปรุงพัฒนาต่อยอดไปจากโครงการเดิมอย่างละเอียด
ประมาณการร้อยละของผลงานที่ต่อยอด (อย่างน้อย ร้อยละ 60 จากผลงานเดิม)
โครงการศึกษา/วิจัยนั้นๆ จะต้องไม่เคยได้รับรางวัลใดๆ ในการประกวดทั้งในระดับประเทศหรือต่างประเทศมาก่อน ไม่ว่ามูลค่ารางวัลที่ได้รับมาจะมีมูลค่าเท่าใดก็ตาม หรืออยู่ระหว่างการเข้าร่วมในเวทีอื่นๆ
ขั้นตอนการประกวด
เปิดรับสมัครพร้อมส่งงานวิจัยฉบับสมบูรณ์รายงานวิจัยฉบับย่อ โปสเตอร์งานวิจัย และ Clip VDO การนําเสนอ (วันนี้ – 1 มีนาคม 2567)
ประกาศผลผู้เข้าร่วมการประกวด (มีนาคม 2567)
จัดงานประกวดผลงานวิจัยชนะเลิศ ปี 2567 (2 - 3 พฤษภาคม 2567)
ประกาศผลการประกวด (พฤษภาคม 2567)
ส่งงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (English Version) เข้าร่วมการประกวด Stockholm Junior Water Prize 2024 (มิถุนายน 2567)
ส่งงานโปสเตอร์งานวิจัย และ Clip VDO การนําเสนองานวิจัย (English Version) เข้าร่วมการประกวด Stockholm Junior Water Prize 2024 (กรกฎาคม 2567)
เข้าร่วมการประกวด Stockholm Junior Water Prize 2024 (23-27 สิงหาคม 2567)
หมายเหตุ กําหนดการข้างต้นอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
เกณฑ์การตัดสินงานวิจัย
รอบคัดเลือก 100 คะแนน
ความเกี่ยวโยง (Relevance) 20 คะแนน
ความสามารถในการสร้างสรรค์งาน (Creative Ability) 25 คะแนน
วิธีการทํางานโครงการศึกษา/วิจัย (Methodology) 15 คะแนน
ความรู้ในหัวข้องานโครงการ หรืองานวิจัยนั้นๆ (Subject Knowledge) 10 คะแนน
ความสามารถในการนําไปใช้ประโยชน์ได้จริง (Practical Skills) 20 คะแนน
การจัดทํารายงานวิจัย (Report) 10 คะแนน
รอบตัดสิน 100 คะแนน
รางวัลการประกวด
รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล พร้อมโล่และเกียรติบัตร
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 เงินรางวัล พร้อมโล่และเกียรติบัตร
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 เงินรางวัล พร้อมโล่และเกียรติบัตร
รางวัลชมเชย 3 รางวัลๆ เงินรางวัล พร้อมโล่และเกียรติบัตร
หมายเหตุ โล่มอบให้กับสถานศึกษา ส่วนเกียรติบัตรมอบให้กับผู้ได้รับรางวัลทุกคน
ติดต่อสอบถาม www.facebook.com/globethailand2015
สนใจพัฒนาโครงงานเพื่อยืนแข่งขัน ปรึกษา หาโค้ช ติดต่อ 095-5055665 หรือ แอดไลน์ @treelearning
CP All ร่วมกับ CAI Club ขอเชิญนักเรียน นักศึกษา สมัครเข้าร่วมการแข่งขัน "CAI Hackathon 2023" ธีม "Spark the Pebbles" ชิงเงินรางวัล พร้อมใบประกาศนียบัตร
กติกาการประกวด
กําลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ มหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 1 - 2
เคยมีประสบการณ์การเขียนโปรแกรมแข่งขัน หรือทํางานเกี่ยวกับ AI
อยากลงมือสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจําวัน
มีความเป็นผู้นํา มีทักษะการทํางานเป็นทีม เปิดใจพร้อมยอมรับความคิดเห็นใหม่ ๆ
ขั้นตอนการสมัคร
คำตอบสำหรับคำถามคัดเลือก
ทำไมถึงสนใจเข้าร่วมงาน Hackathon และสิ่งที่กังวลที่สุดคืออะไร ?
ถ้าได้รับมอบหมายให้ทำโครงงานประดิษฐ์ด้านวิศวกรรมแบบกลุ่มเพื่อนำเสนอต่อกรรมการ โดยได้รับการจัดกลุ่มแบบสุ่ม 4 คน ซึ่งในการทำโครงงานจะต้องมีการแบ่งหน้าที่กัน แต่สมาชิกกลุ่มยังไม่มีใครเริ่มพูดอะไรเลย เราจะทำอย่างไรให้งานดำเนินต่อไปได้ ?
ถ้า Mentor / เพื่อนร่วมทีม ไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่เรากำลังจะทำ เราจะมีวิธีการรับมือ / แก้ปัญหาอย่างไร ?
คาดหวังจะได้รับอะไรจากการเข้าร่วมงาน Hackathon ครั้งนี้ :p ?
ถ้าสมมติเพื่อนของเราที่ไม่เคยศึกษา AI หรือ Machine Learning มาก่อน ต้องการเข้าใจหลักการของ Neural Network Model (Technical Term) เราจะอธิบายเพื่อนอย่างไร ?
โจทย์ปัญหา Coding ด้วยภาษา Python (เลือกทำ 1 หรือ 2 ข้อ) ตามลิงก์ด้านล่าง
Portfolio แสดงผลงาน / แนะนำตนเอง (เป็นลิงค์เว็บไซต์ หรือ PDF ไม่เกิน 10 หน้า)
Video ให้สัมภาษณ์ ไม่เกิน 3 นาที โดยตอบคำถาม
แนะนำตัวเอง เคยทำ Project อะไรมาบ้าง หรือเคยทำ Project เกี่ยวกับงาน AI มาไหม
จากความคิดเห็นของตัวเอง คิดว่า AI คืออะไร จะสนับสนุนเยาวชนได้อย่างไร Upload ลง Google Drive หรือ YouTube แล้วส่งลิงก์การสมัครด้านล่าง
บบฟอร์มยอมรับการเก็บข้อมูล (PDPA Consent) ตามลิงก์ด้านล่าง
กำหนดระยะเวลา
รับสมัครระหว่างวันที่ 14 ฤศจิกายน - 4 ธันวาคม 2566 ขยายเวลาถึงวันที่ 8 ธันวาคม 2566
ประกาศผล วันที่ 7 ธันวาคม 2566
วันงาน 15 - 17 ธันวาคม 2566
ติดต่อสอบถาม
คุณเซนต์ : 0625523670
คุณภูมิ : 0902607831
ข่าวประชาสัมพันธ์ : K. Plengpin Tongdon-ngao
สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ร่วมกับบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ขอเชิญผู้สนใจที่เป็นเป็นเพศหญิง สมัครเข้าร่วมการแข่งขันด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ สำหรับผู้หญิง "Women Thailand Cyber Top Talent 2023" ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 333,000 บาท
คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมการแข่งขัน
เป็นนักเรียนหญิงหรือมีเพศสภาพเป็นหญิง
เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตอนปลาย ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า สังกัดโรงเรียนหรือสถาบันในประเทศไทย
เป็นนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่า สังกัดมหาวิทยาลัยหรือสถาบันในประเทศไทย
เป็นหน่วยงาน CII หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไปสัญชาติไทย
การรับสมัคร
รับสมัครเป็นทีม ทีมละไม่เกิน 2 คน
ผู้สมัคร 1 คน สามารถเข้าร่วมเป็นสมาชิกได้เพียง 1 ทีมเท่านั้น
ชื่อทีมต้องมีความเหมาะสม ไม่หยาบคาย สามารถเผยแพร่สู่สาธารณะได้
ผู้เข้าร่วมการแข่งขันต้องมีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนด หากคณะกรรมการพบว่ามีผู้เข้าแข่งขันทำผิดข้อกำหนดหรือกติกาใด ๆ ระหว่างการแข่งขัน คณะกรรมการขอสงวนสิทธิ์ตัดสิทธิ์การเข้าร่วมแข่งขันของทีมดังกล่าว และการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
กำหนดระยะเวลา
สมัครเข้าแข่งขัน - วันที่ 8 ธันวาคม 2566
รูปแบบและกติกาการแข่งขัน
การแข่งขันจะแบ่งเป็น 3 ระดับ
ระดับ WJunior นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตอนปลาย ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า
ระดับ WSenior นักศึกษาในระดับอุดมศึกษา ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่า
ระดับ WOpen หน่วยงาน CII หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป
รอบการแข่งขัน
รอบที่ 1 รอบคัดเลือก เป็นการแข่ง Capture the Flag ในรูปแบบ Jeopardy คือผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกโจทย์ในหัวข้อใดทำก่อนก็ได้ คะแนนของโจทย์แต่ละหัวข้อจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับระดับความยากง่ายของโจทย์ในรูปแบบออนไลน์
โดยมีหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้
Web Application
Digital Forensic
Reverse Engineering & Pwnable
Network Security
Mobile Security
Programming
Cryptography
กำหนดการแข่งขันรอบคัดเลือก (online) วันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม 2566 เวลา 9:00 – 16:00 น.
รอบที่ 2 รอบชิงชนะลิศ เป็นการแข่ง Capture the Flag ในรูปแบบ Jeopardy คือผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกโจทย์ในหัวข้อใดทำก่อนก็ได้ คะแนนของโจทย์แต่ละหัวข้อจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับระดับความยากง่ายของโจทย์ในรูปแบบออนไลน์
โดยมีหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้
Web Application
Digital Forensic
Reverse Engineering & Pwnable
Network Security
Mobile Security
Programming
Cryptography
Cloud Security
กำหนดการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ (on-site) วันที่ 23 ธันวาคม 2566 เวลา 9:00 – 16:00 น.
เกณฑ์การคัดเลือกเข้ารอบชิงชนะเลิศ
คัดเลือกจากทีมที่ทำคะแนนได้สูงสุดและส่งคำตอบเร็วที่สุด
ระดับมัธยมศึกษา ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ 10 ทีม
ระดับอุดมศึกษา ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ 10 ทีม
โดยกำหนดโควตาในในการเข้ารอบแบ่งตามภูมิภาคไว้ดังนี้ (อ้างอิงจากที่ตั้งโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย)
กทม. 2 ทีม
ภาคกลางและภาคตะวันออกยกเว้น กทม. 2 ทีม
ภาคเหนือ 2 ทีม
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 ทีม
ภาคใต้ 2 ทีม
ระดับประชาชนทั่วไปไม่กำหนดภูมิภาค จำนวน 10 ทีมรวมจำนวนทีมทั้งทั้ง 3 ระดับ ที่จะผ่านเข้ารอบทั้งสิ้น 30 ทีม
รางวัลการแข่งขัน
ระดับนักเรียน
ชนะเลิศอันดับ 1 เงินรางวัล 30,000 บาท
ชนะเลิศอันดับ 2 เงินรางวัล 20,000 บาท
ชนะเลิศอันดับ 3 เงินรางวัล 10,000 บาท
รางวัลชมเชย ทีมละ 3,000 บาท
ระดับนักศึกษา
ชนะเลิศอันดับ 1 เงินรางวัล 40,000 บาท
ชนะเลิศอันดับ 2 เงินรางวัล 30,000 บาท
ชนะเลิศอันดับ 3 เงินรางวัล 20,000 บาท
รางวัลชมเชย ทีมละ 3,000 บาท
ระดับทั่วไป
ชนะเลิศอันดับ 1 เงินรางวัล 50,000 บาท
ชนะเลิศอันดับ 2 เงินรางวัล 40,000 บาท
ชนะเลิศอันดับ 3 เงินรางวัล 30,000 บาท
รางวัลชมเชย ทีมละ 3,000 บาท
ติดต่อสอบถาม
ร.อ.นพรัตน์ สุจินดา โทร.089-600-6626
อีเมล WomenCTF2023@ncsa.or.th
www.facebook.com/NCSA.Thailand
ธนาคารแห่งประเทศไทยขอเชิญชวนบุคคลทั่วไป ร่วมแข่งขันเสนอแนวคิดการประยุกต์ใช้สกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currency : CBDC) เพื่อการต่อยอดนวัตกรรมทางการเงินและธุรกิจ และแก้ไขข้อจำกัดของระบบการเงินในปัจจุบัน
รายละเอียดคลิ๊ก https://www.bot.or.th/Thai/BOT80/CBDCHackathon/Pages/default.aspx
Rama Hack a Health
รายละเอียดคลิ๊ก https://www.instagram.com/p/Ch86K5WJxv9/
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เปิดรับสมัครนักเรียนที่มีความสนใจทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าร่วมโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชน (Junior Science Talent Project – JSTP) รุ่นที่ 25 ประจำปี 2565
ผู้สนใจสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nstda.or.th/jstp/news-post-science-talent-project-jstp/
โหลดใบสมัครคลิ๊ก