ตัวอย่างผลงานวิจัยได้รับการเผยแพร่ในวรสารที่ได้รับการยอมรับ
Situation of Organophosphate and Carbamate Residues in Vegetable advertised as pesticide free in Bangkok [Food safety 2022/ group1]
กรณีศึกษา สถานการณ์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผักที่จำหน่ายในตลาดสดในเขต อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ [Food safety 2022/ group2 ]
Knowledge and Attitude on Buying Safety Pork for Consumers [Meat and Cancer] [Lab Research ใบตอบรับการตีพิมพ์ ขึ้นเว็บ ม.ค.67]
Case Study :Situation of Antibiotic Residues in Fresh Chicken and Chicken products sold in Bangkok [Antibiotic residues 2022 / group1]
Determination of antibiotic residues in pork product sold in Bangkok [Antibiotic residues 2022 / group2] {Survey Research ใบตอบรับการตีพิมพ์ ขึ้นเว็บ ม.ค.67]
Perception of Non Communicable Diseases and Health Behavior among high school students: Case Study [NCDs 2022]
Food safety assessment based on sodium hydrosulfite contamination in ready-to-eat and ready-to-cook food samples from various markets in Bangkok Metropolitan Region [Allergy 2022/ group1]
Sulfite Contamination in Century Eggs and Imported Dry Products Using ALERT Sulfite Detection Kit [Allergy 2022/ group2]
Allergy Related Knowledge and Health Behavior Preventing Allergy among High School Students [Allergy 2022/ group2]
Factors influencing seafood consumption behavior among Thai aged 18-60 years old in Bangkok [Seafood 2022]
Perception of Fried Food and Consumption Behavior among Thai aged 18-60 years old [Fried food 2022: ได้ตอบรับตีพิมพ์ ขึ้นเว็บ มี.ค.2024]
Determination of polar compounds content in repeated cooking oil from households in Bangkok : A Case Study [Fried food 2022 : ได้ตอบรับตีพิมพ์ ขี้นเว็บ ม.ค.2024]
Knowledge About Supplement And Consumption Behavior Among Grade 10-12 Students In Bangkok, Thailand Plant [Extract 2023]
Situation of Organophosphate and Carbamate Residue in Fresh Strawberry in Phitsanulok and Petchaboon Provinces, Thailand [ProjectX3 2023]
Factors influencing health behavior among grade 10-12students in Bangkok [ฺBrain Stroke 2023]
Detection of Organophosphate and Carbamate in Fruit in Bangkok
Knowledge, Attitude and Preventive Behavior toward COVID-19 among grade 10-12 students in Bangkok
Factors influencing Health Behavior of Grade 10-12 students in Nakhon Pathom
Knowledge, Attitude and Drug Resistance Preventive Behaviors of People in Bangkok, Thailand
A Literature Review on Antibiotic Use Behaviors Comparative Analysis
คำแนะนำสำหรับน้องๆ และผู้ปกครองที่สนใจทำวิจัยยื่นพอร์ต แพทย์ ทันตะ สัตวแพทย์ เภสัช และคณะวิทยาศาสตร์
ระยะเวลา
ปกติการทำงานวิจัยใช้เวลาหลายเดือน (ในบางกรณีเป็นปี ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของเรื่องที่ศึกษา และทักษะของผู้วิจัย) ทางสถาบันฯ ออกแบบโครงงการพานักเรียนทำวิจัย ใช้เวลาเรียนและพัฒนางานวิจัย รวม 3-4 เดือน และระยะเวลายื่นตีพิมพ์อีก 3-4 เดือน (ได้ใบตอบรับตีพิมพ์ ใส่พอร์ตได้) และ รอขึ้นเว็บอีก แล้วแต่รอบของวรสารวิชาการ (ถ้าขึ้นเว็บแล้ว สามารถอ้างอิงผลงานวิจัยของเราไปที่เว็บของวรสารได้) รวมๆ แล้วถ้าต้องงานได้งานวิจัยที่ตีพิมพ์กับวรสารที่ได้รับการยอมรับ ควรต้องสำรองเวลา 8 เดือน ++
ดังนั้น นักเรียนที่อยู่ ม.5 ควรเริ่มภายใน ปี 2023 นี้ เพื่อความสบายใจ ถ้าเริ่มเรียนตอนปิดเทอมใหญ่ ก็ได้เช่นกันคะ เมื่อทำงานวิจัยสำเร็จ ยื่นตีพิมพ์ผ่าน ได้ใบตอบรับ ใส่พอร์ต ถ้าโชคดีทันรอบวรสารก็ได้งานที่ขึ้นเว็บวรสารใส่พอร์ต (งานที่ขึ้นเว็บวรสารเป็นอย่างไร ลองดูรายการข้างล่าง 1-15)
หัวข้อวิจัย
หัวข้อวิจัยที่เหมาะสมสำหรับระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ควรเป็นหัวข้อที่ไกล้ตัว หากเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความรู้เฉพาะด้าน เช่น เรื่องที่เกี่ยวข้อกับการแพทย์ ความรู้ระดับมัธยมปลายจะทำงานวิจัยไม่ได้ดีพอที่จะตีพิมพ์วรสารวิชาการที่มีมาตรฐานสูงได้ (มันจะยากมากๆ และใช้เวลาเยอะ) ดังนั้นหัวข้อสำหรับพอร์ตแพย์ ทันตะ เภสัช สัตวแพทย์ ควรเลือกทำหัวข้อ ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สุขภาพทั่วไป ทางสถาบันฯ นำเสนอหัวข้อที่ไม่ยากเกินไปสำหรับนักเรียนมัธยมปลาย และเป็นหัวข้อที่ยื่นพอร์ตได้ แต่ละหัวข้อจะมีแนะนำว่าเหมาะสำหรับคณะไหน นักเรียนปรึกษาอาจารย์ได้ ว่าควรจะต้องเขียนอธิบายงานวิจัยอย่างไร ให้เหมาะสมกับคณะที่จะยื่น
ถ้านักเรียนสนใจหัวข้ออื่นๆที่ทางสถาบันฯ ไม่ได้จัดสอนเป็นกลุ่ม เลือกหัวข้อที่สนใจได้เลย ก็สามารถลงเรียนเดี่ยวได้ ทำงานทุกอย่างคนเดียว ลุยคนเดียว อาจารย์ช่วยดูแล ตลอดจนงานสำเร็จ แต่ workload อยู่กับนักเรียนคนเดียวดังนี้ถ้าสู้ ก็ทำวิจัยเดี่ยวได้
การตีพิมพ์งานวิจัย
งานวิจัยที่ทำสำเร็จแล้ว หากได้รับการเผยแพร่ในวรสารวิชาการที่ได้รับการยอมรับ (ตีพิมพ์) จะสร้างความน่าเชื่อถือให้ผลงานวิจัย เนื่องจากวรสารวิชาการที่ได้รับการยอมรับจะมีกระบวนการ review งานวิจัย โดยผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ 2-3 คน หากผลงานวิจัยของนักเรียนผ่านการ review และได้การยอมรับตีพิมพ์ แสดงว่าผลงาน 1) มีคุณค่าทางวิชาการ 2) กระบวนการทำวิจัยถูกต้อง และ 3) เนื้อหาถูกต้อง วรสารที่ทางสถาบันฯ พายื่นงานวิจัย เป็นวรสารวิชาการในกลุ่ม TCI (Thailand Citation Index)
TCI เป็นกลุ่มวรสารวิชาการที่มีมาตรฐาน หากผู้ปกครองเป็นนักวิชาการ หรือ อาจารย์มหาวิทยาลัย ที่ต้องทำวิจัยเพื่อทำผลงานวิชาการ เมื่อทำวิจัยและต้องยื่นตีพิมพ์ เพื่อทำผลงานวิชากการได้ หนึ่งในวรสารที่ยื่นได้คือ วรสารในกลุ่ม TCI และวารสารนานาชาติที่อยู่ในรายชื่อที่คณะกรรมการอุดมศึกษาประกาศไว้
แล้วถ้าทำวิจัยแล้วไม่ยื่นตีพิมพ์หละ .... ใส่พอร์ตได้ไหม ... ใส่ได้นะ แต่น้ำหนักอาจไม่ดีเท่างานวิจัยที่ตีพิมพ์กับวรสารที่ได้รับการยอมรับ เพราะเวลานักเรียนทำวิจัยสำเร็จ แล้วไม่มีผู้เชียวชาญในสาขานั้นๆ review เปรียบเสมือนทำงานเสร็จแต่ยังไม่มีคนตรวจความถูกต้อง ทั้งเนื้อหา และกระบวนการทำ ถูกต้องรึเปล่าก็ไม่รู้ ไม่ต้องพูดถึงคุณค่าทางวิชาการ ยังไม่สามารถเคลมได้
หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารวิชาการ โดยคณะกรรมการอุดมศึกษา
ระยะเวลา
ปกติการทำงานวิจัยใช้เวลาหลายเดือน (ในบางกรณีเป็นปี ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของเรื่องที่ศึกษา และทักษะของผู้วิจัย) ทางสถาบันฯ ออกแบบโครงงการพานักเรียนทำวิจัย ใช้เวลาเรียนและพัฒนางานวิจัย รวม 3-4 เดือน และระยะเวลายื่นตีพิมพ์อีก 3-4 เดือน (ได้ใบตอบรับตีพิมพ์ ใส่พอร์ตได้) และ รอขึ้นเว็บอีก แล้วแต่รอบของวรสารวิชาการ (ถ้าขึ้น
ทำกี่งานวิจัยดี
ในฐานะที่สถาบันฯ สอนนักเรียนทำงานวิจัย ตอบอย่างเต็มปากเต็มคำเลยว่า งานเดียวที่ตีพิมพ์วรสารวิชาการที่ได้รับการยอมรับก็พอแล้ว แต่ถ้างานเดียวมันยังไม่มั่นใจ ก็ทำอีกสัก 1 งานก็พอ (อันนี้พอจริงๆ) งานวิจัยเป็นส่วนหนึ่งในพอร์ต งานที่สำคัญกว่าคือการทำคะแนนทางวิชาการที่เป็นเกณฑ์การรับสมัคร เช่น เกรดเฉลี่ยสะสม IELTS และเกณฑ์อื่นๆ ต้องผ่าน โครงการวิจัยที่สถาบันฯ พานักเรียนทำ พาทำ 2 งานได้เนื่องจากเป็นหัวข้อที่ใช้พื้นความรู้เดียวกัน ทำไปพร้อมๆกันได้ทั้ง 2 ผลงาน
เอางานวิจัยใส่พอร์ตอย่างไร
แบ่งเป็นสถานะของงานวิจัยดังนี้
งานขึ้นเว็บแล้ว 1) ให้เอา บทคัดย่อ (ไทย หรือ อังกฤษ แล้วแต่เหมาะสม) และ แปะ QR Code ของ ลิงค์วิจัย
ได้ใบตอบรับ แต่งานยังไม่ขึ้นเว็บ 1) ให้เอาใบตอบรับ ใส่พอร์ต 2) เอาบทคัดย่อใส่พอร์ต 3) เอาไฟล์งานใส่ google drive 3) เอา QR Code แปะข้างๆ บทคัดย่อ
งานยังรอการพิจารณาอยู่ ยังไม่ได้รับใบตอบรับ 1) ให้แคป Status การยื่นตีพิมพ์ ใส่พอร์ต (สถาบันฯ จะเตรียมไว้ให้) 2)เอาไฟล์งานใส่ google drive 3) เอา QR Code แปะข้างๆ บทคัดย่อ
เขียนงานวิจัยในพอร์ตอย่างไร
ที่มีและความสำคัญของเรื่องที่เราทำวิจัย ทำวิจัยเพื่ออะไรต้องการจะศึกษาอะไร ใช้วิธีการศึกษาอย่างไร ผลเป็นอย่างไร เอาผลการศึกษาไปใช้ประโยชน์อะไร และสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำวิจัย ต้องสังเคราะห์ออกมาให้ได้ จะดีมากๆ
ปรึกษาการพัฒนาโครงงาน โครงงานแข่งขัน และ งานวิจัย สำหรับระดับมัธยมศึกษา แอดไลน์ @treelearning หรือ โทร.095-505-5665 หรือติดตามข่าวสารการพัฒนาโครงงาน งานวิจัย และการแข่งขันคลิ๊ก