#engineeringschools #computer #technology #TCAS1 #2023 #หลักเกณฑ์การรับสมัครคณะวิศวะ #รอบพอร์ต #2566
เจาะลึกเกณฑ์การรับสมัครคณะวิศวะจุฬา รอบพอร์ต สำหรับปีการศึกษา 2566
(1) วิศวะจุฬา (ภาคไทย)
จำนวนนักศึกษาที่รับรอบพอร์ตทั้งหมด 402 ที่ แบ่งเป็น 4 โครงการดังนี้ โครงการที่ 1) โครงการผู้มีความรู้ด้านคณิต+วิทย์ 250 ที่, 2) โอลิมปิค (คอม) 100 ที่, 3) โครงการ สวทช 50 ที่ และ 4)นักกีฬา 2 ที่
สำหรับโครงการผู้มีความรู้ด้านคณิต + วิทย์ ซึ่งเปิดรับจำนวน 250 ที่นั่ง เกรดเฉลี่ย 3.0 ในส่วนของ Portfolio เกณฑ์การพิจราณา จะดูจาก ความสามารถทางวิชาการ 35%, การศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง 20%, ความคิดสร้างสรรค์ และการแก้ปัญหา 35%, ความสามารถในการสื่อสาร 5% และแรงจูงในในการอยากเป็นวิศวกร 5%
จากเกณฑ์การพิจราณาที่ทางคณะกำหนดมาอย่างชัดเจน แสดงให้เห็นว่าการเตรียมตัวเพื่อสร้าง Profile เพื่อตอบโจทย์นี้ ต้องวางแผนมาเป็นอย่างดี อาจจะต้องเริ่มพัฒนาผลงานกันตั้งแต่ ม.4 และต่อเนื่องไปจนถึง ม.6 โดยต้องปักธง เป้าหมายไว้ให้ชัดเจนว่า ในแต่ละเกณฑ์ที่ทางคณะกำหนดมา เราต้อง achieve อะไร เพื่อสร้างผลงานให้เข้าตากรรมการ เช่น
ความสามารถทางวิชาการ ที่มีน้ำหนักถึง 35% นอกเหนือจากเกรดเฉลี่ยสะสมที่โรงเรียนแล้ว อะไรอีกบ้างผลงานวิชาการ (เลือกเอา ไม่ต้องมีทั้งหมดก็ได้)
เกรดสูงๆ ก็เอามาทำแต้มได้ เช่นเกรดขั้นต่ำกำหนดไว้ที่ 3.0 แต่เราได้ 3.90 อันนี้ก็เพิ่มน้ำหนักในส่วนนี้ได้นะ (คือทำเกรดสูงไว้)
การแข่งขันทางวิชาการต่าง
งานวิจัยตีพิมพ์กับวรสารที่ได้รับการยอมรับ อันนี้นับเป็นผลงานวิชาการ แต่ว่าเด็ก ม.ปลาย ทำงานวิจัยนี่ ไม่ง่ายนะ ต้องมีคนสอน ต้องมีโค้ช ปรึกษาทรีเลิร์นนิ่งได้ นะ เพราะมีนักวิจัยสายวิศวะ ระดับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คอยช่วยน้องๆอยู่
การศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง (Life Long Learning) สำหรับเกณฑ์นี้ น้กเรียนควรมาแบบแผนในการสะสมผลงานอย่างไร ให้สอดคล้องกับเป้าหมาย ให้ relevant กับทักษะ และ Competencies (สมถรรนะ)ที่ต้องเตรียมพร้อมสำหรับการเป็นวิศวกรที่ประสบความสำเร็จ และต้องยั่งยืนด้วยนะ ซึ่งสำคัญมากๆ
ด้านความคิดสร้างสรรค มีน้ำหนักถึง 35% อะไรจะเป็นผลงานที่แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์
ควรจะต้องทำอะไร ทำอย่างไร เพื่อเก็บแต้มในส่วนนี้ให้ได้มากที่สุด คำตอบคือ "โครงงาน" จร้า โครงงานนี่วัดได้หลายอย่างเลย ทั้งเรื่องทักษะการคิด การวิเคราะห์ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค ความรู้ การประยุกต์
การนำเสนอโครงงานก็วัดความสามารถการสื่อสารอีก โอ๊ย ทำดีดีนะโครงงานเนีย หัวใจเลย
แต่ถ้าจะเอาแบบเก็บแต้มหนักๆ เลย ก็ให้ทำโครงงานแข่งขันจร้า อันนี้ตัวพัฒนาศักยภาพน้องๆเลย และเปิดหูเปิดตาด้วยว่าเค้าไปกันถึงไหนแล้ว ติดงานระดับประเทศ เช่น YSC, NSC, SIC หรือ งานที่ สวทช จัดอะ ตลอดทั้งปีมีหลายงาน โอกาสมีหลายรอบนะถ้าเริ่มเร็ว เร็วคือ ม.4 ช้าคือ ม.5
แล้วถ้าจะทำโครงงานต้องทำอย่างไร หาครูเก่งๆสอนจร้า โดยเฉพาะครูที่มีประสบการณ์การสอนเด็กพัฒนาโครงงาน ยิ่งมีประสบการณ์ส่งนักเรียนแข่งขันหลายๆปียิ่งดี ยิ่งมีผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์-เทคโนโลยีหลายๆแขนง ยิ่งดีเข้าไปใหญ่
แล้วจะหาที่ไหน ครูสอนโครงงานโปรไฟล์ระดับนั้น ... ถ้าหาที่ไหนไม่ได้มาที่ทรีเลิร์นนิ่ง ทั้งหมดที่แนะนำไปมีที่ทรีเลิร์นนิ่งหมด ครับ
ความสามารถในการสื่อสาร ซึ่งสำคัญมาก (ในทุกสาขาอาชีพ) จะฝึกอย่างไรให้สามารถสื่อสารได้อย่างมั่นใจ ต้องสื่อสารอย่างไร
แรงจูงใจในการเป็นวิศวกร อะไรเป็นแรงผลักดัน หรือจูงในให้เราอยากเป็นวิศวะกรคนดีคนเก่ง
ส่วนเกฑณ์การให้คะแนนผลงานใน Porfolio ของคณะ ก็กำหนดไว้ชัดเจนเช่นกัน เช่น ความสามารถทางวิชาการ สำหรับเกรดเฉลี่ยของของนักเรียน ใครได้เกรดสูงก็ได้น้ำหนักเยอะ ใครได้เกรดน้อยก็ได้น้ำหนักน้อย หรือ ผลงานทางวิชาการที่ได้รับการยอมรับ เช่นผลงานวิจัยตีพิมพ์ ให้น้ำหนักตามความน่าเชื่่อถือของวรสารที่ตีพิมพ์ ผลงานเรื่องความคิดสร้างสรรค ก็พิจราณาจากวิธีการคิดของนักเรียนผ่านการซักถาม การนำเสนอไอเดีย การแก้ปัญหา การวิเคราะห์ ความชัดเจนของการสื่อสาร ตีออกมาเป็นน้ำหนัก และเอาคะแนนทั้งหมดไปรวมกัน
สำหรับพอร์ตฯวิศวะจุฬา ถือว่าต้องเตรียมตัวอย่างดีมากๆ เริ่มตั้งแต่ ม.4 ได้ยิ่งดี เพราะดูแล้วงานเยอะและหนักจริงๆ
ปรึกษาการเตรียมพอร์ต ยื่นวิศวะจุฬา รอบ 1 โทร 095-505-5665 หรือ แอดไลน์ @treelearning
ค่ายพัฒนาทักษะ พื้นฐานวิศวะ เทคโนโลยี คลิ๊ก
(2) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบางมด (โครงการ Active Recruitment) ไม่ได้กำหนดเกรดเฉลี่ยขั้นต่ำ 5 เทอม (เอาแบบไม่น่าเกลียด เรียนวิศวะทั้งที พื้นฐานมันต้องมีสัก 2.75 +) ต้องยื่นคะแนนภาษาอังกฤษ เช่น IELTS หรือ TOEFL ไม่ได้กำหนดขั้นต่ำเช่นกัน (เอาแบบปลอดภัย IELTS ประมาณ 5.5-6.0 และยื่นพอร์ตด้วย) พอร์ตของบางมด ไม่มีอะไรมาก ของงานที่เป็น National Award คือ ผลงานแข่งขันระดับประเทศ และก็การสื่อสาร คืออธิบายผลงานของตัวเองให้ชัดเจน แสดงให้เห็นการคิดวิเคราะห์ และความคิดสร้างสรรค์
(3) ISE จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คะแนนภาษาอังกฤษ IELTS 6.0 ยื่นคะแนน SAT Math, ACT การเตรียมพอร์ตใช้แนวทางตามนี้ได้เลย (เกณฑ์คล้ายของวิศวะภาคไทย)
3.1 รางวัลแข่งขันระดับประเทศด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
3.2 มีทักษะการแก้ปัญหา อาจจะนำเสนอด้วยผลงานนวัตกรรม เช่น application ของ ISE ที่ชื่อ VIABUS เป็น App ที่แก้ปัญหาเรื่องการรอรถโดยสารประจำทาง คิดออกมาเป็นนวัตกรรมที่ช่วยให้ผู้คนที่ใช้รถเมล์ได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น
3.3 แรงบันดาลใจในการเรียนวิศวะ
3.4 ทักษะในการค้นคว้าหาความรู้อยู่เสมอ
3.5 เรื่องการทำงานเป็นทีม หรือ ทักษะที่เกี่ยวกับด้านวิศวะ
(4) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกรดเฉลี่ยสะสม 5 เทอม ขั้นต่ำ 3.00 ในพอร์ต นอกจากประวัติส่วนตัวแล้ว ต้องมีผลการเรียน Statement of Purpose (จดหมายแนะนำตัว) ใบเกียรติบัตรต่างๆ คะแนนสอบภาษาอังกฤษ เช่น IELTS และต้องมีผลงานการแข่งขันนวัตกรรม เทคโนโลยี และต้องเจอการสัมภาษณ์ในรอบต่อไป
(5) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยลาดกระบัง (ภาคไทย และอินเตอร์) มีหลายสาขามาก แทบจะทุกแขนงของสายเทคโนโลยี สำหรับรอบพอร์ต หลักเกณฑ์แรกคือ เกรดเฉลี่ยสะสม 4 เทอม ไม่น้อยกว่า 3.50 ต้องมีผลงานการแข่งขันระดับจังหวัด, ระดับประเทศ ต้องมีกิจกรรมวิชาการกับ KMITL และมีผลงานจาก KMITL ใส่พอร์ตยื่นไป ตอนสมัคร
*ในพอร์ตควรใส่อะไรบ้าง มีวิเคราะห์ให้ตอนท้ายของบทความ
(6) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รอบพอร์ต กำหนดเกณฑ์เกรดเฉลี่ยขั้นต่ำ แต่ไม่ได้แจ้งว่าเท่าไหร่ (ปกติจะไม่โหดมาก) และต้องยื่นพอร์ต
(7) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้โครงการรับนักเรียนผู้มีความรู้ ความสามารถพิเศษ เกรดเฉลี่ยสะสม 5 เทอม ขั้นต่ำ 2.75 โดยกลุ่มวิชา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 3.0 แต่ต้องดูด้วยว่าสมัครสาขาไหน บางสาขาเกรดเฉลี่ยสะสมจะกำหนดค่อนข้างสูง เช่น สาขาไฟฟ้า บางสาขาจะไม่กำหนดไว้สูงมากนัก และยื่นพอร์ต
(8) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รอบพอร์ตใช้เกรดเฉลี่ยสะสม คะแนนสอบภาษาอังกฤษ และ พอร์ต
(9) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่เปิดรับนักเรียนจากทุกจังหวัด
9.1 ภายใต้โครงการมงคลสุข เกรดเฉลี่ยสะสม ตั้งแต่ ม.4-6 ไม่น้อยกว่า 2.50, โดยเกรดเฉลี่ยวิชาคณิตศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 2.5, วิทยาศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 2.75 และภาษาอังกฤษไม่น้อยกว่า 2.5 ส่วนพอร์ตต้องมีผลงานการแข่งด้านวิทยาศาสต์และเทคโนโลยี
9.2 ภายใต้โครงการ ดาวรุ่งคอมพิวเตอร์ เกรดเฉลี่ยสะสม ตั้งแต่ ม4-6 ไม่น้อยกว่า 2.50, โดยเกรดเฉลี่ยวิชาคณิตศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 2.5, วิทยาศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 2.75 และภาษาอังกฤษไม่น้อยกว่า 2.5 ส่วนพอร์ตต้องมีผลงานการแข่งด้านคอมพิวเตอร์
วิเคราะห์หลักเกณฑ์พอร์ตวิศวะ น้องๆ และผู้ปกครองใช้เป็นแนวทาง มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง
1. เกรดเฉลี่ยสะสม ควรได้ไม่น้อยกว่า 2.75-3.50 โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ แล้วแต่ว่าเป้าหมายยื่นคณะไหน บางที่ไม่ได้กำหนดเกรด แต่น้องๆต้องคิดถึงด้วยว่าถ้าเข้าได้แล้วจะสามารถเรียนได้จนสำเร็จไหม ดังนั้นพื้นฐานวิชาการอันนี้สำคัญนะ
2. สร้างผลงานด้านนวัตกรรม แขนงที่น้องๆ สนใจ และหาเวทีประกวดผลงาน เพื่อสร้างพอร์ตระดับแข่งขัน โดยเฉพาะงานระดับประเทศ เช่น NSC, YSC, SIC, Rama Pitching, งานที่องค์กรมหาชน หรือบริษัทใหญ่เป็นผู้จัด งานเหล่านี้มีตลอดทั้งปี แต่ก่อนจะลงมือ ควรเรียนรู้พื้นฐานต่างๆของวิศวะ เทคโนโลยีก่อน ผลงานแข่งขันจะฝึกฝนน้องๆหลายทักษะ เช่น การคิด วิเคราะห์ การแก้ปัญหา การประยุกต์เทคโนโลยี และศาสตร์ต่างๆ มาสร้างนวัตกรรม แก้ไขปัญหา ผลงานแข่งขัน จึงได้รับน้ำหนักเยอะ ถือเป็นผลงานคุณภาพ ระดับเซียนเลยทีเดียว เริ่มได้ตั้งแต่ ม.3 เลย ค่อยๆพัฒนาฝีมือ ค่อยๆเก็บผลงาน
3. ภาษาอังกฤษ เช่น IELTS บางคณะกำหนดให้ยื่นคะแนนภาษาอังกฤษ บางคณะไม่ได้กำหนดแต่สามารถเอาคะแนนนี้มาใส่พอร์ตได้ เพราะเวลาเรียน หรือทำงาน ภาษาอังกฤษก็ต้องใช้
4. การเขียน Statement of Purpose เขียนแนะนำตัว เขียนเกี่ยวกับว่าทำไมถึงสนใจอยากเรียนคณะนี้ อะไรคือแรงบันดาลใจ ตัวเองมีความเหมาะสมอย่างไร อันนี้บางคณะกำหนดให้เขียน บางคณะไม่ได้กำหนด แต่น้องๆ ก็เอาข้อมูลเหล่านี้มาใส่พอร์ตได้ เช่นกัน จะทำให้เขารู้จักเรามากขึ้น เห็นความตั้งใจ ความใฝ่ฝันของเรา และที่สำคัญเราใช้ข้อมูลตรงนี้มาออกแบบ การสื่อสารของพอร์ตเราได้ ว่าจะสื่ออะไร ไม่ใช่ว่าทำพอร์ตที่มีแต่รูป และใบเกียรติบัตร เปิดไปเหมือนดู catalogue เสื้อผ้าที่ไม่น่าสนใจ ไม่สะดุดตา ไม่ได้สื่อสาร แบบนี้ไม่ดี
จากหลักเกี่ยวกับพอร์ตเกณฑ์ที่คณะกำหนดมาก็มีข้อ 1-4 แต่ถ้าน้องๆอยากทำ Profile ให้เด่นขึ้นอีกหน่อยแนะนำให้ทำเพิ่ม ดังนี้
5. เพิ่มเรื่อง Softskills เข้าไป คือภาวะผู้นำ การทำงานเป็นทีม การสื่อสาร การนำเสนองาน
6. งานอดิเรก ที่สอดคล้องกับการพัฒนาทักษะทางวิศวะ เทคโนโลยี ยิ่งดี และถ้าเอามาพัฒนาเป็นผลงานได้ยิ่งดีสุดๆ เช่นชอบเขียนโค้ดยามว่าง เลยเขียนโค้ด เขียนแอ๊ป เล่น แอ๊ปนู้นแอ๊ปนี้ เอามาใส่พอร์ตได้ ถ้าทำดีดี
7. ช่วยพ่อ แม่ ผู้ปกครองทำงาน และเรียนรู้จากสิ่งนั้น อันนี้จะน่ารักมาก เช่น บ้านทำร้านอาหาร เราไปช่วยดูแลเรื่องการซื้อของเข้าร้าน การเลือกผัก ดูแลสต๊อก อันนี้เอามาเขียนเรื่องได้เยอะเลย เช่น ได้เรียนรู้ระบบ ฝึกความรับผิดชอบ ฝึกการแก้ปัญหา อาจเป็นโอกาสให้หาแอ๊ปหรือซอร์ฟแวร์มาช่วยบริหารจัดการร้าน ช่วยให้กิจกรรมคล่องตัวมากขึ้น เป็นต้น
8. กีฬา ออกกำลังกาย ดนตรี จัดมานิดๆหน่อยๆได้เลย
หากน้องๆ ผู้ปกครองต้องการวางแผนการพัฒนาผลงาน พัฒนา Portfolio เพื่อสมัครศึกษาต่อคณะวิศวะ คอมพิวเตอร์ หรือสายเทคโนโลยี ปรึกษา ได้ที่ 095-505-5665 หรือ แอดไลน์ @treelearning
#engineeringschools #computer #technology #TCAS1 #2022 #หลักเกณฑ์การรับสมัครคณะวิศวะ #รอบพอร์ต #2565