#แพทย์รอบพอร์ต, #แพทย์รอบ1 , #พอร์ตแพทย์
ทำไมควรยื่นสมัครเข้าศึกษาต่อคณะแพทยศาสตร์ ใน TCAS รอบ 1
สำหรับน้องๆ ที่มีความใฝ่ฝันต้องการเข้าศึกษาต่อในคณะแพทย์ ปัจจุบันระบบการคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อในคณะแพทย์ ได้เปิดโอกาสให้นักเรียนที่สนใจสมัครเข้าศึกษาต่อคณะแพทย์ ในรอบ TCAS 1 (รอบแฟ้มสะสมผลงาน หรือรอบ Portfolio) เพิ่มเติมจากรอบ TCAS 3 (หรือรอบ กสพท) นอกเหนือจากรอบโควต้า TCAS 2 ซึ่งจำกัดเฉพาะนักเรียนในพื้นที่ที่กำหนดเท่านั้น
นักเรียนที่สนใจสามารถยื่นสมัครเข้าศึกษาต่อคณะแพทยศาสตร์ที่เปิดรับใน TCAS 1 ได้ โดยไม่ถูกตัดสิทธิการยื่นใน TCAS 3 ดังนั้นเป็นการเพิ่มโอกาสให้กับนักเรียนซึ่งยื่นสมัครได้ 2 รอบ โดยไม่เสียสิทธิ์ หากสอบติดคณะแพทย์ใน TCAS 1 นักเรียนก็ได้เรียนคณะแพทย์โดยไม่ต้องมายื่นใน TCAS 3 อีก
หลักเกณฑ์การรับสมัครคณะแพทย์ใน TCAS 1 แตกแต่างจาก TCAS 3 นักเรียนต้องเตรียมคะแนนตามที่คณะแพทย์ฯ นั้นๆ กำหนด เช่น เกรดเฉลี่ยสะสม ตลอด4-5 ภาคเรียน คะแนน English Proficiency Test (คะแนนความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ) เช่น IELTS, TOEFL, CU-TEP เป็นต้น คะแนนทดสอบวิชาเฉพาะ (subject test) (รอทางคณะประกาศ ประมาณ ก.ย.67 เป็นต้นไป) แฟ้มสะสมผลงาน จากหลักเกณฑ์การรับสมัครที่แตกต่างจากรอบ กสพท ทำให้มีเพียงนักเรียนบางกลุ่มที่มีความพร้อม เช่นทางด้านภาษาอังกฤษ การต้องสอบวิชาเฉพาะ (subject test) ด้านการเตรียมผลงานที่โดดเด่นใส่ในแฟ้มสะสมผลงาน ทำให้ในรอบพอร์ตฯ มีอัตราการแข่งขันที่ต่ำกว่า รอบ กสพท.
การยื่นสมัครเรียนคณะแพทย์ในรอบพอร์ตฯ
3.1 สามารถสมัครคณะแพทย์ภาคไทยได้ เช่น คณะแพทย์จุฬา คณะแพทย์รามา คณะแพทย์ศริราช คณะแพทย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะแพทย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะแพทย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะแพทย์มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นต้น
3.2 สมัครเข้าศึกษาต่องคณะแพทย์ภาคอินเตอร์ได้ เช่น คณะแพทย์มหาวิทยาลัยเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณะแพทย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (หลักสูตรสองภาษา)
3.3 คณะแพทย์หลักสูตรสองปริญญา (เรียน 7 ปี ได้รับสองปริญญา) เช่น ของคณะแพทย์มหาวิทยาลัยศรีนคริทร์วิโรฒ ร่วมกับ มหาวิทยาลัย Nottingham ประเทศอังกฤษ คณะแพทย์จุฬาภรณ์ร่วมกับ มหาวิทยาลัย UCL ประเทศอังกฤษ คณะแพทย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หลักสูตร แพทย์+นักวิทยาการข้อมูล คณะแพทย์มหาวิทยาลัยขอนแก่นหลักสูตรแพทย์+นักวิทยาการข้อมูล คณะแพทย์มหาวิทยาลัยขอนแก่หลักสูตรแพทย์+นักบริหาร
ตั้งเป้าหมายและวางแผนให้ชัดเจน จะช่วยนักเรียนเริ่มเตรียมความพร้อมได้ตั้งแต่ ม. 3-4
อยากติดแพทย์รอบ 1 ต้องเตรียมตัวอย่างไร
จากการวิเคราะห์หลักเกณฑ์การรับสมัครคณะแพทย์ใน TCAS 1 หรือแพทย์รอบพอร์ต ตั้งแต่หลายปีที่ผ่านมาจนถึงปีการศึกษาล่าสุด (เด็ก67) พบว่านักเรียนที่สนใจยื่นสมัครแพทย์รอบพอร์ต จะต้องเตรียมความพร้อม 3 ด่านสำคัญดั้งนี้
ผลการเรียน คือ เกรดเฉลี่ยสะสม (GPAX) ตลอด 4-5 เทอม เช่น ม.4 เทอม 1-2, ม.5 เทอม 1-2 และ ม.6 เทอม 1 รวม 5 เทอม บางคณะกำหนดเกรดเฉลี่ยสะสม 4 เทอม บางที่ 5 เทอม ต้องไม่น้อยกว่า 3.0-3.5 และกำหนดเกรดขั้นต่ำของวิชาเช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ สิ่งที่นักเรียนต้องวางแผนและทำไปพร้อมๆกันคือการทำเกรดให้ได้ตามที่คณะแพทย์กำหนด ไม่งั้นถ้าเกรดไม่ถึงก็ยื่นสมัครรอบพอร์ตไม่ได้
พัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษในทุกๆทักษะ เพื่อเตรียมสอบ English Proficiency Test เช่น IELTS หรือ TOEFL ให้ได้คะแนนตามที่ทางคณะฯ กำหนด นักเรียนควรทำคะแนน IELTS ให้ได้ อย่างน้อง 6.5 ขึ้นไป หากได้ไม่ถึง คณะแพทย์ที่เรามีสิทธิ์ยื่นก็อาจจะมีไม่กี่ที่ ทั้งนี้ต้องศึกษาหลักเกณฑ์คะแนนภาษาอังกฤษที่คณะกำหนดในแต่ละปีการศึกษาด้วย
วางแผนพัฒนาแฟ้มสะสมผลงาน และทำผลงานควบคู่กันไป ตั้งแต่ ม.3-6 หรือ ม.4-6 แล้วแต่ทางคณะฯ กำหนดว่าให้เก็บกิจกรรมในช่วงปีไหน
เตรียมพอร์ตแพทย์ อย่างไร ให้โดดเด่น
พอร์ตฯ ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการแสดงตัวตนของนักเรียน แสดงให้เห็นถึงศักยภาพ แรงบันดาลใจ และความมุ่งมั่นในสายอาชีพที่สนใจ ดังนั้นผลงานที่ใส่ในพอร์ตฯ ควรแสดงให้เห็นถึงศักยภาพที่โดดเด่น แรงบันดาลใจ และความมุ่งมั่นของนักเรียนในการที่จะเข้าศึกษาต่อในคณะแพทยศาสตร์ และที่สำคัญผลงานที่แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีคุณสมบัติที่พิเศษกว่าคนอื่น โดยเฉพาะผลงานที่ทำนอกเวลาเรียน เป็นผลงานที่พัฒนาความสามารถด้านต่างๆของนักเรียน
High-Level Performance
ผลงานแบบไหนแสดงให้เห็นถึงศักยภาพระดับสูง
หากเป็นศักยภาพด้านวิชาการ ยกตัวอย่างง่ายๆคือ การที่นักเรียนสอบติด สอวน สสวท หรือได้เหรียญโอลิมปิกวิชาการ หรือ แข่งขันตอบปัญหาวิชาการต่างๆ ได้รางวัล เป็นต้น
หากเป็นศัยกภาพด้านการคิดวิเคราะห์ เช่น การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ โครงงานสิ่งประดิษฐ์ โครงงานนวัตกรรม ระดับแข่งขัน และได้รางวัล ผลงานเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นผลงานที่ต้องใช้ความตั้งใจในการศึกษาค้นคว้า ฝึกฝน สังเกต คิดอย่างเป็นระบบ
ศักยภาพด้านการพัฒนาองค์ความรู้สร้างผลงานวิชาการ เช่น โครงการวิจัย ต้องเป็นผลงานวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารที่ได้รับการยอมรับ (ตีพิมพ์) จึ่งจะจัดว่าเป็นผลงงานที่มีน้ำหนัก
ผลงานเหล่านี้ ใช้พลังสมอง พลังงาน เวลา ความชั่งสังเกต และความตั้งใจ ในการทำให้สำเร็จลุล่วง ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นคุณลักษณะสำคัญที่คณะแพทย์ฯ ต้องการ
การสร้างผลงานเหล่านี้ ไม่ใช่เรื่องง่าย สำหรับนักเรียน จึงควรต้องมีการวางแผนสำหรับการพัฒนาผลงานเหล่านี้เป็นอย่างดี
กิจกรรมที่แสดงให้เห็นถึง Commitment & passion
การทำกิจกรรมจิตอาสา เกี่ยวกับการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์
การฝึกประสบการณ์จิตอาสาในสถานพยาบาลต่างๆ
การเป็นผู้ช่วยนักวิจัย
การศึกษาหาความรู้ที่เกี่ยวข้อง
กิจกรรมการพัฒนาผลงานต่างๆ
สิ่งประดิษฐ์ (ไม่ได้แข่งขัน)
ค่ายอาสา สอนหนังสือ ให้ความรู้ ทำกิจกรรมให้กับ ผู้ด้อยโอกาส
ทำผลงานประกวดในรายการต่างๆ เช่น ออกแบบ โลโก้ ประกวดคำขวัญ ออกแบบ Infographic
Extracurricular activity กิจกรรมพัฒนาศักยภาพ (นอกเวลาเรียน) ด้านต่างๆ ของนักเรียน
กิจกรรม เช่น กีฬา ดนตรี ภาษา ศิลป ซึ่งนักเรียนทำได้ดีมาก วัดโดย แข่งขันได้รางวัล หรือมีใบรับรองความสามารถ หรือทำแล้วมีความโดดเด่น (ขึ้นอยู่กับการเขียนอธิบายเรื่องราว ให้แสดงถึงศักยภาพ และประโยชน์ที่ได้รับจากกิจกรรมเหล่านี้)
ภาวะผู้นำ เช่น เป็นตัวแทนนักเรียนในโรงเรียน ชั้นเรียน กลุ่ม (ขึ้นอยู่กับการเขียนอธิบายเรื่องราว ให้ครอบคลุมทักษะที่สำคัญ)
กิจกรรมค่ายหมอต่าง ๆ
ค่ายแพทย์ ค่ายหมอ ส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมสำหรับการเรียนรู้ และค้นหาตัวตน ผ่านการเข้าฟังสัมนา แนะแนว การฝึกอบรมทักษะ การทำเวิร์คช๊อปต่างๆ ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมค่ายแพทย์ฯ ประโยชน์ของกิจกรรมเหล่านี้ให้ความรู้ แก่นักเรียนที่เข้าร่วม และช่วยให้นักเรียนได้มีข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสายอาชีพ หรือทักษะพื้นฐานบางอย่าง กิจกรรมเหล่าสามารถแสดงให้เห็นว่านักเรียนมีความสนใจเกี่ยวกับสายอาชีพนี้ อย่างไรก็ดียังไม่ได้แสดงให้เห็นศักยภาพของนักเรียนที่ชัดเจนในการที่จะสามารถเข้าศึกษาต่อคณะแพทยฯ ได้ หากนักเรียนต้องการเรียนรู้ข้อมูล และค้นหาตนเอง (ระดับพื้นฐาน) กิจกรรมเหล่านี้ตอบโจทย์ แต่ไม่ควรเอาไปใส่ในพอร์ต เพราะน้ำหนักน้อยมาก จริงๆก็ใส่ได้นะ เลือกที่เราอินมากๆ และเขียน refection ดีดี
การเขียน Reflection ของแต่ละกิจกรรม เป็นอีกหนึ่งส่วนที่สำคัญ ในการถ่ายถอดสิ่งที่สะท้อนจากแต่ละกิจกรรมจากตัวตนของนักเรียน ให้ โดนใจคณะกรรมการ ในส่วนนี้บอกเลยว่าไม่ง่าย ควรต้องวิเคราะห์กันพอสมควร จึงจะเขียนออกมาได้ดี
นักเรียน ลองเอารายการของผลงาน หรือ กิจกรรมใส่พอร์ตของตัวเองมาวิเคราะห์ดูนะ ว่าจัดอยู่ในกลุ่มไหน หากมีกิจกรรม high level performance และ Commitment and Passion เยอะหน่อย พอร์ตก็จะมีน้ำหนักมากหน่อย แต่ถ้ามีแต่พวกค่ายหมอ อันนี้ต้องรีบปรับแผน เพราะเวลากรรมการพิจารณาพอร์ต เค้าชอบพอร์ตที่มีผลงานโหดๆหน่อย เค้าจะใช้เวลาศึกษาทำความเข้าใจ เช่น โครงงาน วิจัย นัวตกรรม แต่ถ้าผลงานในพอร์ตมีแต่พวกค่ายหมอ กิจกรรม 1 วัน เค้าอาจจะดูผ่านๆ เพราะไม่ได้มีสาระอะไรมากมาย
ที่อ่านมาทั้งหมดไม่ต้องเชื่อก็ได้นะ ลองหาข้อมูลจากที่อื่นดูด้วย และก็ตัดสินใจเอาเองว่าจะวางแผนเตรียมตัวอย่างไร
หากต้องการปรึกษาเพิ่มเติม แอดไลน์ @treelearning หรือโทร 095-5055665 ติดต่อครูกิ๊ก